โรงเรียนวัดช่างเหล็ก ตั้งอยู่เลขที่ 163 แขวงคลองชักพระ เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร เป็นโรงเรียนของรัฐบาล สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เดิมตั้งอยู่ที่วัดมณฑป แต่เนื่องด้วยสถานที่คับแคบและการคมนาคมไม่สะดวก ทางราชการจึงย้ายมาอยู่ที่วัดช่างเหล็ก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2450
ต่อมาปี พ.ศ. 2503 กระทรวงศึกษาธิการได้อนุมัติให้เปิดรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาขึ้น
จึงได้ประธานในวันที่ 1 ตุลาคม 2516 ได้โอนโรงเรียนจากศึกษาจังหวัด ไปสังกัดโรงเรียนประถมศึกษาส่วนกลาง กองการประถมศึกษากรมสามัญศึกษา
ปีการศึกษา 2521 กระทรวงศึกษาธิการ ได้แจ้งให้โรงเรียนวัดช่างเหล็กเปิดสอนในระดับประถมศึกษาตามเดิม โรงเรียนจึงยุบชั้นมัธยมศึกษา โดยส่งนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาไปศึกษา ที่โรงเรียนใกล้เคียงและโรงเรียนได้ดำเนินการเปิดรับสมัครนักเรียนเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ใหม่ จำนวน 2 ห้องเรียน และเปิดรับเด็กเล็กอีก 1 ห้องเรียน ต่อมาวันที่ 1 ตุลาคม 2523 ได้มีพระราชบัญญัติให้โอนโรงเรียนวัดช่างเหล็ก ไปสังกัดสำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ ขึ้นตรงกับสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร หรือเรียกย่อๆว่า สป.กทม.
ในปีงบประมาณ 2530 โรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนแบบรัตนโกสินทร์สมโภชน์เป็นอาคาร 4 ชั้น มี 20 ห้องเรียน 1 ห้องกิจกรรม (ห้องประชุมใหญ่) ราคา 5,740,000 บาท (ห้าล้านเจ็ดแสนสี่หมื่นบาทถ้วน) เพื่อทดแทนอาคารทั้งสองหลังที่ชำรุดทรุดโทรม โดยรื้ออาคารเรียนแบบ 017 เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2530 วันที่ 5 พฤศจิกายน 2531 โดยนิมนต์พระอาจารย์สวง รักษาการเจ้าอาวาสวัดช่างเหล็ก มานำขึ้นอาคารใหม่เพื่อเป็นสิริมงคล
ปีพ.ศ. 2537 ผู้ปกครองในชุมชนวัดช่างเหล็ก – เรไร ซึ่งมีบุตรหลานอยู่ในวัย 3 ขวบ จำนวนมากประกอบกับผู้ปกครองส่วนมากมีฐานะยากจน ต้องการออกไปทำงานนอกบ้านแต่มีปัญหาในการเลี้ยงดูบุตร คณะกรรมการสถานศึกษาของโรงเรียน จึงขอให้โรงเรียนทดลองเปิดสอนชั้นอนุบาล
3 ขวบ (ซึ่งในขณะนั้นมีโรงเรียนอนุบาลสามเสน และโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบเปิดทำการสอน อยู่แล้ว) เนื่องจากโรงเรียนมีความพร้อมและเป็นการช่วยเหลือชุมชนวัดช่างเหล็ก-เรไร ด้วยจึงได้เปิด ชั้นอนุบาล 3 ขวบขึ้น
ในปี พ.ศ. 2549 มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับโรงเรียนวัดช่างเหล็ก ดังนี้
- ได้ผ่านการรับรองการประเมินคุณภาพภายนอก (สมศ.) ครั้งที่ 1
เมื่อวันที่ 20 - 21 มกราคม 2546 แต่ในครั้งนั้นยังไม่ได้แยกการประเมิน
ระดับอนุบาล และประถมศึกษา
- รับการรับรองเป็นโรงเรียนต้นแบบโรงเรียนในฝัน เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2549 โดยมีการปรับปรุงพัฒนาห้องสมุด ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องคณิตศาสตร์ ห้องวิทยาศาสตร์ ห้องศิลปะ ห้องนาฏศิลป์ ห้องดนตรี และการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย แบบศูนย์การเรียนรู้
- ได้ผ่านการรับรองการประเมินคุณภาพภายนอก(สมศ.) ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่
17 – 19 กรกฎาคม 2549 แต่ในครั้งนี้ได้แยกการประเมินระดับอนุบาลและ
ประถมศึกษา
- ได้ผ่านการประเมินโรงเรียนสหกรณ์ดีเด่น ในปีการศึกษา 2552
- ได้ผ่านการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยมีผลการประเมินอยู่
ในระดับดี
- ได้ผ่านการรับรองการประเมินคุณภาพภายนอก(สมศ.) ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่
13- 15 มิถุนายน 2554
- ในปี 2553 โรงเรียนได้รับงบประมาณจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต ๓ ในการปรับปรุงซ่อมแซมทาสีอาคารโรงเรียน
- ในปี 2554 โรงเรียนได้รับจัดสรรงบประมาณจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานครในการปรับปรุงซ่อมแซมระบบไฟฟ้า
และปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียน ปูพื้นกระเบื้องห้องเรียนและปรับปรุงซ่อมแซมห้องวิชาการห้องนาฏศิลป์และห้องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งได้รับงบประมาณในการจัดซื้อครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา
- ในปี 2555 ได้รับงบประมาณจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานครในการปรับปรุงซ่อมแซมห้องน้ำครูและห้องปฏิบัติการทางวิชาการ (ปูพื้นกระเบื้องห้องเรียนอนุบาลและห้องวิชาการ)
- ในปีงบประมาณ 2556 โรงเรียนได้รับจัดสรรงบประมาณในการปรับปรุงซ่อมแซมห้องวิชาการ (ห้องศิลปะ) และปรับปรุงห้องสมุดโรงเรียนปูพื้นกระเบื้องห้องเรียนและทาสีรวมทั้งจัดซื้อครุภัณฑ์โรงเรียนในฝัน
- โรงเรียนได้ผ่านการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา โดยคณะกรรมการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร
ปัจจุบัน โรงเรียนวัดช่างเหล็ก เปิดทำการสอนนักเรียนระดับชั้นปฐมวัย 3 ขวบ ชั้นอนุบาล 1-2 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 และจากอดีตถึงปัจจุบัน มีผู้บริหารโรงเรียนนอกจากรองอำมาตย์ตรีขุนประพุทธ บัตรสารแล้ว ทำเนียบผู้บริหารได้หายไปช่วงหนึ่งจนกระทั่งมาถึงผู้บริหารดังนี้
พ.ศ.2503 – 2517 นางสาวลออ สุนทรเกตุ
พ.ศ. 2517 - 2529 นางสาวมณีกุล นาควิทย์
พ.ศ.2529 – 2531 นายสำราญ เจริญพักตร์
พ.ศ. 2531 – 2537 นายบุญธรรม แก้วสาร
พ.ศ.2537 - 2538 นายประเสริฐ นิตย์มี
พ.ศ. 2538 – 2543 นายสมาน ชื่นอิ่ม
พ.ศ.2543 - 2548 นางลมัยพร แหล่งหล้า
พ.ศ. 2548 - 2549 นางรำไพ คุ้มแก้ว รก.ผอ.รร.
พ.ศ.2549 - 2551 นางเมตตา ศิริรัตน์
พ.ศ. 2551 – 2557 นายเฉลิมพงษ์ ถนอมรัตน์
พ.ศ. 2557 - 2559 นางสุรดา ไชยสงคราม
พ.ศ. 2559 - 2564 นายวัฒนธรรม ระยับศรี
พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน นางจันทนา ดวงมาลัย (รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ)
|